หอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญได้รับการจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยมีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นหน่วยธุรการและ นับแต่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญชุดแรก เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๑  ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๑ จัดตั้งสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว อยู่ที่ ๔๙/๑ บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้บริหารชุดก่อตั้งได้ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ในวงงานศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในระยะเริ่มต้นได้จัดหาหนังสือกฎหมายและการเมืองการปกครอง ได้ประมาณ ๓๐๐ เล่ม มีการจัดทำทะเบียนหนังสือชุดแรกเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๒

โดยอาศัยพื้นที่ว่างระหว่างห้องทำงาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นมุมจัดวางหนังสือและจัดเจ้าหน้าที่ไว้บริการให้ยืม-คืน ดูแลรักษาตามความเหมาะสม จนกระทั่งปลายปี ๒๕๔๓ ได้ย้ายที่ทำการมายังอาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญถาวรแห่งแรกจึงได้จัดให้มีห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญขึ้นบริเวณชั้น ๑ ของอาคารบ้านเจ้าพระยารัตนา ธิเบศร์ ห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีทรัพยากรสารนิเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีการลงรายการทรัพยากรสารนิเทศเป็นการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LC) และได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Elib) มาใช้เพื่อให้สามารถทำการสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตจากหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยทำการสืบค้นจากชื่อ          ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ หัวเรื่อง หมวดหมู่ รวมทั้งตรวจสอบสถานะของหนังสือ และการให้บริการยืม – คืนทรัพยากรสารนิเทศผ่านเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ขยายที่ทำการมายัง อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวง ทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จึงได้มีการย้ายระบบงานและทรัพยากรสารนิเทศจากห้องสมุดที่อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์  มายังที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญแห่งใหม่ บริเวณชั้น ๔ ชื่อปัจจุบันคือ  หอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ในปัจจุบันห้องสมุดมีทรัพยากรสารนิเทศประมาณ ๑๕,๐๐๐ รายการ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานหอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ Continue reading “หอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ”

ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า

ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการ การค้นคว้าวิจัย และการศึกษาอบรมเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจของสถาบันฯก่อตั้งในปลายปี พ.ศ. 2543 โดยศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าในอดีต) หลังจากนั้นได้มีการจัดหาสิ่งพิมพ์เพื่อให้บริการแก่บุคลากรและผู้เข้ารับการศึกษาอบรมของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งนี้ในระยะหลังเนื่องจากมีบุคคลภายนอกสนใจที่จะค้นคว้าข้อมูล สารสนเทศด้านการเมืองการปกครองของสถาบัน ฯ จึงได้เปิดบริการให้แก่บุคคลภายนอก

ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ฯ มีเนื้อหาด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชน ธรรมาภิบาล การจัดการความขัดแย้งและการเสริมสร้างสันติวิธี โดยแบ่งทรัพยากรออกเป็นประเภทต่าง ๆ อาทิ หนังสือ เอกสารวิชาการส่วนบุคคล เอกสารวิชาการกลุ่ม วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์สถาบัน ฯ วารสาร หนังสือพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ

ห้องสมุด ฯ ใช้ระบบจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) นอกจากนี้ยังมีระบบหมวดหมู่เฉพาะที่กำหนดขึ้นตามความเหมาะสมของทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบัน ฯ และเอกสารวิชาการ เป็นต้นมา
บริการอ่าน Continue reading “ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า”

ห้องสมุดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ห้องสมุดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือ หอสมุดรัฐสภา ดำเนินการโดยกลุ่มงานห้องสมุด และกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ให้บริการสารสนเทศทางวิชาการเพื่อสนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติ และส่งเสริมความรู้ด้านการเมืองการปกครอง แก่สมาชิกรัฐสภา คณะกรรมาธิการ ข้าราชการ บุคคลในวงงานรัฐสภา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ใช้เป็นแหล่งในการเข้าถึง สืบค้น และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศ

ประเภทงานบริการ

– บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ
– บริการยืมต่อทรัพยากรสารสนเทศ (Renew)
– บริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC)
– บริการแนะนำให้จัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ (Purchase suggestions)
– บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ทางโทรศัพท์ e-mail และทาง Live Chat
– บริการทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางเว็บไซต์ (https://library.parliament.go.th)
– บริการคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (Legislative Institutional Repository of Thailand – LIRT)
> Website            https://dl.parliament.go.th/
> Application     “LIRT Parliament DL”
>> App Store
>> Play Store
– บริการโปรแกรมสนทนาแบบตอบกลับอัตโนมัติ (Chatbot) ในชื่อ “LibraryonLINE
Continue reading “ห้องสมุดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร”

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา สถาบันหลักหนึ่งในสามของอำนาจประชาธิปไตย เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ในการตรากฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ให้ความเห็นชอบกิจการบ้านเมืองที่สำคัญ รวมถึงการใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้

สำนักวิชาการ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ จัดให้มีการวิจัยและรวบรวมข้อมูลทางวิชาการ ตลอดจนการนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ ดำเนินการจัดทำข้อมูลและข้อเสนอแนะทางวิชาการตามความต้องการของสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและบุคคลในวงงานสภา ได้แก่ การจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและญัตติ การจัดทำเอกสารทางวิชาการและเอกสารเผยแพร่ด้านการเมืองการปกครอง ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานและการให้บริการงานห้องสมุด การพัฒนาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดทำดัชนีและฐานข้อมูล โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพ การประสานงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศกับหอสมุดรัฐสภานานาประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์การเมืองการปกครองตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑ์ บริการนำชม จัดแสดงนิทรรศการ และการบริหารงานจดหมายเหตุของรัฐสภา Continue reading “สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร”