ภาพกิจกรรมแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

ภาพกิจกรรมแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสำนักงานอัยการสูงสุด

ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานอัยการสูงสุด

ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานที่รวบรวมและให้บริการองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดเล็งเห็นว่าพนักงานอัยการมีความจำเป็นต้องใช้บริการห้องสมุดอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาความรู้ เพิ่มเติมทั้งในด้านนิติศาสตร์และสาขาวิชาอื่น เพื่อดำรงตนในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้ มีความคิดทันสมัย และมีทัศนะกว้างขวาง อันเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่เป็นทนายแผ่นดิน โดยศูนย์วิทยบริการถือเป็นภารกิจหลักที่จะต้องทำหน้าที่เป็นแหล่งให้บริการความรู้เหล่านี้แก่ข้าราชการอัยการซึ่งปฏิบัติภารกิจอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

ภารกิจหลัก

๑. งานบริหารทั่วไป
๒. งานบริการสารสนเทศ
๓. งานพัฒนาวิทยบริการด้วยสื่อสารสนเทศ
๔. งานเอกสารพิเศษทางกฎหมาย
๕. งานพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
๖. งานห้องสมุดสาขา
๗. งานพิพิธภัณฑ์
๘. งานจดหมายเหตุ Continue reading “ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานอัยการสูงสุด”

สำนักงานอัยการสูงสุด

สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด

วิสัยทัศน์

“องค์กรอัยการมีความเป็นเลิศในการยุติธรรม และเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน”

พันธกิจ

๑. อำนวยความยุติธรรมทางอาญาและบังคับใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรม
๒. รักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
3. พัฒนางานด้านสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั้งในและนอกประเทศตามหลักมาตรฐานสากล
4. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางกฎหมายกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
5. พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ Continue reading “สำนักงานอัยการสูงสุด”

หอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญได้รับการจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยมีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นหน่วยธุรการและ นับแต่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญชุดแรก เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๑  ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๑ จัดตั้งสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราว อยู่ที่ ๔๙/๑ บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้บริหารชุดก่อตั้งได้ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ในวงงานศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในระยะเริ่มต้นได้จัดหาหนังสือกฎหมายและการเมืองการปกครอง ได้ประมาณ ๓๐๐ เล่ม มีการจัดทำทะเบียนหนังสือชุดแรกเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๒

โดยอาศัยพื้นที่ว่างระหว่างห้องทำงาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นมุมจัดวางหนังสือและจัดเจ้าหน้าที่ไว้บริการให้ยืม-คืน ดูแลรักษาตามความเหมาะสม จนกระทั่งปลายปี ๒๕๔๓ ได้ย้ายที่ทำการมายังอาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญถาวรแห่งแรกจึงได้จัดให้มีห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญขึ้นบริเวณชั้น ๑ ของอาคารบ้านเจ้าพระยารัตนา ธิเบศร์ ห้องสมุดศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีทรัพยากรสารนิเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีการลงรายการทรัพยากรสารนิเทศเป็นการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LC) และได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Elib) มาใช้เพื่อให้สามารถทำการสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตจากหน้าเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยทำการสืบค้นจากชื่อ          ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ หัวเรื่อง หมวดหมู่ รวมทั้งตรวจสอบสถานะของหนังสือ และการให้บริการยืม – คืนทรัพยากรสารนิเทศผ่านเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ขยายที่ทำการมายัง อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวง ทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จึงได้มีการย้ายระบบงานและทรัพยากรสารนิเทศจากห้องสมุดที่อาคารบ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์  มายังที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญแห่งใหม่ บริเวณชั้น ๔ ชื่อปัจจุบันคือ  หอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ในปัจจุบันห้องสมุดมีทรัพยากรสารนิเทศประมาณ ๑๕,๐๐๐ รายการ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานหอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ Continue reading “หอสมุดกฎหมายรัฐธรรมนูญ”

ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า

ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการ การค้นคว้าวิจัย และการศึกษาอบรมเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจของสถาบันฯก่อตั้งในปลายปี พ.ศ. 2543 โดยศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าในอดีต) หลังจากนั้นได้มีการจัดหาสิ่งพิมพ์เพื่อให้บริการแก่บุคลากรและผู้เข้ารับการศึกษาอบรมของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งนี้ในระยะหลังเนื่องจากมีบุคคลภายนอกสนใจที่จะค้นคว้าข้อมูล สารสนเทศด้านการเมืองการปกครองของสถาบัน ฯ จึงได้เปิดบริการให้แก่บุคคลภายนอก

ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ฯ มีเนื้อหาด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชน ธรรมาภิบาล การจัดการความขัดแย้งและการเสริมสร้างสันติวิธี โดยแบ่งทรัพยากรออกเป็นประเภทต่าง ๆ อาทิ หนังสือ เอกสารวิชาการส่วนบุคคล เอกสารวิชาการกลุ่ม วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์สถาบัน ฯ วารสาร หนังสือพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ

ห้องสมุด ฯ ใช้ระบบจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) นอกจากนี้ยังมีระบบหมวดหมู่เฉพาะที่กำหนดขึ้นตามความเหมาะสมของทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบัน ฯ และเอกสารวิชาการ เป็นต้นมา
บริการอ่าน Continue reading “ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า”

ห้องสมุดสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

ห้องสมุดสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นห้องสมุดเฉพาะ (Special library) ให้บริการพนักงานภายในและบุคคลทั่วไปด้วยสารสนเทศที่เน้นด้านกฎหมาย การเมืองการปกครอง ข้อมูลของผู้ตรวจการแผ่นดินของไทย และข้อมูลสารสนเทศจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และองค์กรที่มีอำนาจคล้ายคลึงกันในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ห้องสมุดเริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2545 เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ส่วนวิจัยและวิชาการ ในขณะนั้น โดยใช้ระบบจัดหมวดหมู่แบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification: DC) มีนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบดูแลในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ให้บริการยืม – คืน ด้วยระบบมือ จากนั้นในปี พ.ศ. 2550 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานและขอบเขตหน้าที่ของงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยให้ห้องสมุดอยู่ในส่วนงานของ “ศูนย์ศึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน” และต่อมาสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ได้กำหนดให้ห้องสมุดอยู่ในการกำกับดูแลของ “สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินศึกษา” เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา

ในปี พ.ศ. 2555 เริ่มมีการดำเนินงานห้องสมุดเต็มรูป มีบรรณารักษ์ทำหน้าที่ประจำห้องสมุด และได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Aleph เข้ามาบริหารงานห้องสมุด และให้บริการสืบค้นโดยใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถสืบค้นและยืม – คืน ทรัพยากรสารสนเทศได้สะดวก รวดเร็ว Continue reading “ห้องสมุดสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน”

ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน เกิดขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินให้ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน กรณีที่ได้รับความเดือดร้อนและความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐ ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติ มาตรา 242 – 245 โดยมีเจตนารมณ์สานต่อจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่มุ่งหวังให้มีกลไกการคุ้มครองสิทธิประชาชน และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

หน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่ ดังนี้

มาตรา 230 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(1) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม แก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
(2) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมนั้น
(3) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ

ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินตาม (1) หรือ (2) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการ ตามที่เห็นสมควรต่อไป

ในการดำเนินการตาม (1) หรือ (2) หากเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการต่อไป

มาตรา 231 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 230 ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้เมื่อเห็นว่ามีกรณี ดังต่อไปนี้
(1) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่อง พร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(2) กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีปัญหา เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง และให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง

วิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

วิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง  เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ ให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ  เก็บรวบรวมคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลฎีกา ของคดีในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว ให้บริการแก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ

ประเภทงานบริการ

งานบริการยืม-คืน
บริการช่วยค้นคว้า
มุมให้บริการ ห้องสื่อการเรียนรู้ มุมที่นั่งเดี่ยว Continue reading “วิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง”

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539  โดยมีเหตุผลให้การจัดตั้งเพื่อให้คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาและคดีแพ่ง โดยทั่วไปได้รับพิจารณาพิพากษา โดยผู้พิพากษาซึ่งมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และมีบุคคลภายนอกซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเข้ามาร่วมพิจารณาและพิพากษาคดีด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2540