ขณะที่ใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มีการควบคุมเด็กที่กระทำผิดโดยในปี พ.ศ. 2450 ได้จัดตั้งโรงเรียนดัดสันดานขึ้นที่เกาะสีชัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีเพื่อควบคุมผู้กระทำผิดซึ่งมีอายุระหว่าง 10-16 ปี อยู่ในความดูแลของกรมตำรวจและในเวลาต่อมาได้โอนไปอยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ หลักจากนั้นมีพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2479 และพระราชบัญญัติจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวกพุทธศักราช 2479 วางหลักปฏิบัติต่อนักโทษผู้ใหญ่กับนักโทษเด็ก และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนดัดสันดานมาเป็นโรงเรียนฝึกอาชีพพร้อมทั้งย้ายมาตั้งที่ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมื่อปี 2501 กรมราชทัณฑ์ได้โอนกิจการโรงเรียนฝึกอาชีพไปให้ กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการซึ่งกรมประชาสงเคราะห์ ได้รับเด็กไว้ฝึกอบรม ณ เยาวชนสถาน บ้านห้วยโป่ง จังหวัดระยอง รัฐบาลเห็นว่าการปฏิบัติต่อเด็กในระหว่างจับกุมหรือพิจารณาคดีโดยใช้วิธีการเช่นเดี่ยวกับผู้ใหญ่นั้นเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม และเป็นผลเสียต่อเด็กจึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 และกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดดำเนินการ ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง กับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2495 มีที่ทำการชั่วคราวที่ศาลแขวงพระนครใต้ (เดิม) ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร ซึ่งภายหลังได้ย้ายมาอยู่อาคารที่ถนนราชินี ใกล้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ต่อมาเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัวว่ามีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาของเด็กและเยาวชนจึงนำคดีครอบครัวมาพิจารณาในศาลนี้ด้วย โดยยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งสองฉบับและให้ใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แทน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อศาลคดีเด็กและเยาวชนและสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก มาเป็น ศาลเยาวชนและครอบครัว และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน Continue reading “กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน”
ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ มุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรกรมฯ ในด้านต่างๆ และ จุดประกายให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดมีให้บริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ผลงานทางวิชาการ และ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ เป็นต้น
ในปัจจุบันได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ เข้ามาใช้ในการจัดการห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ประเภทงานบริการ
๑. งานบริการยืน – คืน
๒. บริการวารสารและหนังสือพิมพ์
๓. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
๔. บริการต่ออายุทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต
เวลาเปิดให้บริการ
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
ช่องทางการติดต่อ
ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคารเอ ชั้น ๕)
เลขที่ ๑๒๐ หมู่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๑-๖๕๑๐
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด : นายอภิสิทธิ์ บัวเผื่อน
โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๑-๖๕๑๐