วิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

วิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง  เป็นแหล่งรวมความรู้ด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ ให้บริการสื่อสารนิเทศต่างๆ  เก็บรวบรวมคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลฎีกา ของคดีในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัย จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากเรื่องที่มีอยู่แล้ว ให้บริการแก่บุคลากรภายในหน่วยงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ

ประเภทงานบริการ

งานบริการยืม-คืน
บริการช่วยค้นคว้า
มุมให้บริการ ห้องสื่อการเรียนรู้ มุมที่นั่งเดี่ยว Continue reading “วิทยบริการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง”

หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนะนำองค์กร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 มีนักศึกษากว่า 240,000 คน ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในจำนวนนี้ มีผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ อาทิเช่น นายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานรัฐสภา นักการเมือง เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา จึงนับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรเพื่อการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการตามพันธกิจในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง ให้บริการวิชาการแก่สังคมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเป็นผู้นำในการผลักดันและส่งเสริมการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความถูกต้องของสังคมตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังคำกล่าวที่ว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชาชน”

แนะนำห้องสมุด
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดี มีผู้บริหารสูงสุด คือ ผู้อำนวยการหอสมุดฯ มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการให้บริการวิชาการ แก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในทุกสาขาวิชาและทุกระดับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นพัฒนาเสรีภาพแห่งการเรียนรู้ เสริมสร้างสังคมอุดมปัญญา รวมทั้งทำหน้าที่จัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือ/นวัตกรรมที่นำสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าใช้บริการโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ และอุปกรณ์การเข้าถึง ตลอดจนพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
หอสมุดฯ มีการบริหารงานแบบศูนย์รวม แบ่งหน่วยงานออกเป็น 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ศูนย์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บริการท่าพระจันทร์ ศูนย์บริการรังสิต และศูนย์บริการภูมิภาคและเครือข่าย โดยมีห้องสมุดในสังกัดจำนวน 10 แห่ง และ 1 ศูนย์การเรียนรู้ ภายใต้สังกัดศูนย์บริการท่าพระจันทร์จำนวน 6 แห่ง  คือ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ (คณะนิติศาสตร์) ห้องสมุดศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี) ห้องสมุดคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  ห้องสมุดศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม (คณะรัฐศาสตร์) และห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ (คณะเศรษฐศาสตร์)  ศูนย์บริการรังสิตจำนวน 3 แห่ง และ 1 ศูนย์การเรียนรู้ คือ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี ห้องสมุดศูนย์รังสิต (คลังหนังสือ) และศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และศูนย์บริการเครือข่ายและภูมิภาค 1 แห่ง คือ ห้องสมุดบุญชู ตรีทอง มธ.ศูนย์ลำปาง
นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดสังกัดศูนย์การเรียนรู้ภูมิภาคของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีก 1 แห่ง คือ ห้องสมุดศูนย์พัทยา (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา) ที่หอสมุดฯ มีบทบาทหน้าที่ในการร่วมพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศและบริการโดยให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการร่วมกัน และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 หอสมุดฯ ได้รับโอนหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาเป็นหน่วยงานในสังกัด นับเป็นการขยายขอบเขตการกำกับดูแลของหอสมุดฯ ให้ครอบคลุมหน่วยบริการเอกสารข้อมูล เพื่อการปฏิบัติงานร่วมกันแบบบูรณาการ โดยเน้นการให้บริการนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหลัก  พร้อมกับเปิดให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นแหล่งบริการข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเสียค่าเข้าใช้บริการ 20 บาท/วัน
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นหนึ่งในผู้นำด้านส่งเสริมการเรียนรู้และวิจัยทุกที่ทุกเวลาในระดับเอเชีย
พันธกิจ (Missions)
1.บริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
2.ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและสิ่งอำนวยความสะดวก
3.พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นสากลอย่างยั่งยืน

Continue reading “หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน ที่รวบรวมสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยและต่างประเทศ เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

วิสัยทัศน์

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชนเป็นองค์กรสารสนเทศ ด้านสิทธิมนุษยชนชั้นนำระดับชาติ

พันธกิจ

1. แสวงหา คัดเลือก จัดหา จัดเก็บ จัดระบบและให้บริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน แก่บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และบุคคลทั่วไป
2. จัดหา พัฒนาและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและบริการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาการให้บริการสารสนเทศที่หลากหลาย และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
4. ส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) แก่บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
5. แสวงหา และพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์การสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน Continue reading “ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน”

ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม

ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม เป็นห้องสมุดเฉพาะทางประเภทห้องสมุดกฎหมาย (Law Library) โดยเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือ เอกสารต่างๆ จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ แยกออกมาจากสำนักงานศาลยุติธรรม เริ่มเปิดดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เปิดให้บริการแก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมและบุคคลภายนอก ปัจจุบันห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม สังกัดกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรมมีห้องสมุดเครือข่ายในสังกัดกระทรวงยุติธรรม 9 แห่ง ประกอบด้วย ห้องสมุดกรมคุมประพฤติ ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ห้องสมุดกรมบังคับคดี ห้องสมุดราชทัณฑ์ ห้องสมุดสำนักงานกิจการยุติธรรม ห้องสมุดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. และห้องสมุดกรมสอบสวนคดีพิเศษ ปัจจุบันใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ “Walai Autolib” ในการบริหารจัดการห้องสมุด Continue reading “ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม”

ห้องสมุดวุฒิสภา

ห้องสมุดวุฒิสภาเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทของวุฒิสภาและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ตลอดจนองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุและเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสิ่งของที่ระลึกที่ได้รับจากภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ ห้องสมุดวุฒิสภาให้บริการแก่สมาชิกวุฒิสภา บุคลากรในหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้องในวงงานรัฐสภา ตลอดจนประชาชนทั่วไปและผู้สนใจ

ภารกิจหลัก

๑. ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทของวุฒิสภา
และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
๒. ดำเนินการวางระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำดรรชนีหมวดหมู่ และจัดฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการบริการค้นคว้าอ้างอิงให้แก่สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในวงงานวุฒิสภา และประชาชนทั่วไป
๓. ดำเนินการรวบรวม จัดเก็บวัตถุ หรือเอกสารที่มีค่าทางประวัติศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา รวมทั้งขอ ที่ระลึกที่ได้รับมาจากภายในและต่างประเทศ
๔. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย Continue reading “ห้องสมุดวุฒิสภา”

หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง

หอสมุดกฎหมายมหาชนเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปและผู้สนใจ

วิสัยทัศน์

สำนักหอสมุดกฎหมายมหาชน เป็นหน่วยงานที่เป็นเลิศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรสารนิเทศ ที่ให้บริการสารสนเทศ องค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนและกฎหมายปกครองทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสนับสนุนเป็นศูนย์กลางรวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการด้านกฎหมายมหาชนของประเทศ และการปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง Continue reading “หอสมุดกฎหมายมหาชน สำนักงานศาลปกครอง”

ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ มุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรกรมฯ ในด้านต่างๆ และ จุดประกายให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดมีให้บริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์  ผลงานทางวิชาการ และ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ เป็นต้น

ในปัจจุบันได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม  ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ เข้ามาใช้ในการจัดการห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

ประเภทงานบริการ

๑. งานบริการยืน – คืน
๒. บริการวารสารและหนังสือพิมพ์
๓. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
๔. บริการต่ออายุทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางอินเตอร์เน็ต

เวลาเปิดให้บริการ

วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ช่องทางการติดต่อ

ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (อาคารเอ ชั้น ๕)
เลขที่ ๑๒๐ หมู่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๑-๖๕๑๐
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด : นายอภิสิทธิ์ บัวเผื่อน
โทรศัพท์ ๐-๒๑๔๑-๖๕๑๐

ห้องสมุดศาลล้มละลายกลาง

ห้องสมุดศาลล้มละลายกลางเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ด้านกฎหมายล้มละลายและกฎหมายอื่นทั่วๆไป ให้บริการแก่บุคลากรในหน่วยงานรวมทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนและผู้สนใจ

วิสัยทัศน์

สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นศาลที่ใช้อำนาจตุลาการในการดำรงอำนาจอธิปไตยและรักษาความเรียบร้อยของสังคมโดยการอำนวยความยุติธรรมภายใต้หลักนิติธรรมด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั้งมุ่งนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยมาใช้  เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมได้โดยง่ายภายในปี 2560

ภารกิจหลัก

1. งานพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรสารนิเทศ
2. งานรวบรวมและให้บริการองค์ความรู้ด้านกฎหมายล้มละลาย และกฎหมายอื่นทั่วไป
3. งานบริการช่วยค้นคว้า
4. งานสนับสนุนความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านกฎหมาย

ประเภทงานบริการ

1. งานบริการยืม – คืน
2. งานบริการและช่วยค้นคว้าข้อมูลต่างๆ
3. งานบริการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศตามคำขอ
4. มุมให้บริการ เช่น มุมหนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ เป็นต้น

เวลาเปิดให้บริการ

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
หยุดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

ช่องทางการติดต่อ

ศาลล้มละลายกลาง อาคาร A ชั้น 4
เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
Email : cbc@coj.go.th
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด : นางสาวภิญญาพัชญ์  ฐนันท์วัฒนกุล
โทรศัพท์ 0 – 2141 – 1520
โทรสาร  0 – 2143 – 8711

ห้องสมุดและนิทรรศการประชาธิปไตยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ห้องสมุดและนิทรรศการประชาธิปไตย กกต. จัดตั้งเพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจอย่างพอเพียงและทันท่วงที รวมทั้ง นักการเมือง พรรคการเมือง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการเลือกตั้ง นิสิต-นักศึกษา นักเรียน สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การเลือกตั้ง และเกิดความตระหนักในการระมัดระวังต่อการกระทำผิดกฎหมายมากขึ้น

ภารกิจหลัก

เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับปรัชญา แนวคิด ความเป็นมาของการเมืองการปกครอง พรรคการเมือง การเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน มติคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำวินิจฉัยสั่งการคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำสั่งศาลที่เกี่ยวกับคดีเลือกตั้ง ระเบียบ กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตลอดจน ผลงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ประเภทงานบริการ

– บริการ สืบค้นข้อมูล มติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อกำหนดคณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้อกำหนดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง คำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำวินิจฉัยสั่งการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำสั่งศาลฎีกา คำสั่งศาลอุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์ภาค ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองสูงสุด

– บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารนิเทศ หนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง สื่อวัสดุต่างๆ

– บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) และข้อมูลผลการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด

เวลาเปิดให้บริการ

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
หยุดวันเสาร์ – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ช่องทางการติดต่อ

ห้องสมุดและนิทรรศการประชาธิปไตย
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เลขที่ 120 ม.3 ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถ. แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
Email : academic@ect.go.th