ภาพกิจกรรมแสดงความไว้อาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

ภาพกิจกรรมแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

image001

image003

ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นกลุ่มงานกลุ่มหนึ่งในกองกฎหมายไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการรวบรวม จัดทำ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลทางด้านกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมทั้งประชาชนให้ได้รับข้อมูลทางกฎหมายที่ครบถ้วนและถูกต้อง

ประเภทงานบริการ

๑. บริการยืม – คืนหนังสือ วารสาร และเรื่องเสร็จของสำนักงานฯ
๒. บริการยืม – คืนระหว่างห้องสมุด
๓. บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าข้อมูลทางด้านกฎหมาย
๔. บริการแนะนำและสาธิตการสืบค้นทรัพยากรสารนิเทศ
๕. บริการตรวจสอบหนังสือเกินกำหนด
๖. บริการสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุด
๗. บริการตอบคำถามทางโทรศัพท์

เวลาเปิดให้บริการ

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ช่องทางการติดต่อ

ห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่อยู่ 1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงพระบรมหาราชวัง  เขตพระนคร  กรุงเทพฯ 10200
http://www.krisdika.go.th
ติดต่อ นางสาวมลฤดี  นิยมธรรม
โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒-๐๒๐๖ ต่อ ๑๕๑๒
โทรสาร ๐-๒๒๒๐-๗๖๙๕

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นสถาบันที่ปรึกษากฎหมายของรัฐ เป็นสถาบันทางวิชาการ และเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งของการปกครองประเทศโดยกฎหมาย (rule of law) ซึ่ง เป็นหลักการสำคัญที่ต้องยึดถือของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นหลักประกันว่าการใช้อำนาจทางปกครองจะเป็นไปตามกฎหมายซึ่ง รัฐสภาได้ตราขึ้นตามความประสงค์ของประชาชนในสังคม และเพื่อให้เป็นหลักประกันว่าอำนาจทางปกครองจะไม่ตกเป็นของบุคคลใดบุคคล หนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามิใช่ที่ปรึกษาของรัฐบาลใด รัฐบาลหนึ่งเท่านั้น และมิได้ปฏิบัติงานตามทิศทางที่รัฐบาลประสงค์เพียงประการเดียว แต่ปฏิบัติงานเพื่อให้การใช้อำนาจทางปกครองเป็นไปตามกฎหมายและเพื่อประโยชน์ ของประชาชนส่วนรวม

ในการจัดทำกฎหมายและให้ความเห็นทางกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักนิติศาสตร์และความสอดคล้องกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมุ่งหมายให้ฝ่ายปกครองสามารถนำไปปัญหาที่แท้จริงของสังคมได้