ศาลยุติธรรม

แนะนำองค์กร

วิสัยทัศน์
“ศาลยุติธรรม เป็นสถาบันที่อำนวยความยุติธรรม เพื่อให้สังคมสงบสุข
เป็นธรรมและเสมอภาคโดยยึดหลักนิติธรรม”

พันธกิจ
1. อํานวยความยุติธรรมเพื่อสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
2. พัฒนาและสร้างระบบสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรมให้มีความรวดเร็ว สะดวก ทันสมัยและเป็นสากล
3. เสริมสร้างความร่วมมือทางการศาลและกระบวนการยุติธรรมไทยและต่างประเทศ
4. ธำรงความศรัทธาและความเชื่อมั่นในการอำนวยความยุติธรรมเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของสังคมไทยที่ยั่งยืน

แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2561 – 2564
J   Justice for All ยึดมั่นการอำนวยความยุติธรรมด้วยหลักนิติธรรม
U  Uplift and Uphold Standard ยกระดับมาตรฐานระบบงานศาลยุติธรรมสู่ระดับสากล
S   Stronger Specialized Court เพิ่มความเข้มแข็งให้ศาลชำนัญพิเศษ
และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
T  Trusted Pillar เพิ่มความเชื่อมั่นศรัทธาในการอำนวยความยุติธรรม
I    Innovation พัฒนานวัตกรรมการอำนวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรม
C  Collaboration เร่งบูรณาการเครือข่ายด้านการยุติธรรมทั้งภายในประเทศ
และระหว่างประเทศ
E    Excellence Organization เพิ่มศักยภาพองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

นโยบายประธานศาลฏีกา
นางเมทินี ชโลธร
1. เสมอภาค “ประชาชนต้องได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาค”
2. สมดุล “สร้างดุลยภาพแห่งสิทธิ”
3. สร้างสรรค์ “สร้างกลไกการดำ เนินกระบวนพิจารณาและการพิพากษาคดี
ที่ทันสมัย”
4. ส่งเสริม “ส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่ราชการและให้ความสำคัญแก่คุณภาพชีวิตของบุคลากร”
5. ส่วนร่วม “สนับสนุนให้เกิดการรับรู้และมีส่วนร่วม”

สำนักงานศาลยุติธรรม
นับจากวันที่ 20 สิงหาคม 2543 ศาลยุติธรรมแยกออกจากกระทรวงยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยมีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรม มีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การบริหารการเงิน การพัสดุ การวางแผนเกี่ยวกับบุคลากร การบริหารจัดการอาคารสถานที่ งานทางวิชาการ และงานส่งเสริมงานตุลาการ ซึ่งลักษณะของงานเหล่านี้เป็นไปตามลักษณะของการบริหารองค์กรหรือหน่วยงาน และที่สำคัญคือการสนับสนุนงานตุลาการอันเป็นภาระหลักให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรม

บทบาทภารกิจของสำนักงานศาลยุติธรรม
1. กำหนดนโยบายการบริหารด้านบุคลากร งบประมาณและแผนงานให้เป็นไปตามหลักการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance)
2. ดำเนินการด้านเลขานุการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) และคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (ก.ศ.)
3. สรรหาอัตรากำลังข้าราชการตุลาการและธุรการ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพและทักษะอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
4. ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายและระบบงานของศาลยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
5. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิผลและมูลค่าผลงานต่อหน่วย (Unit Cost)
6. ประสานงานกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง