หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนะนำองค์กร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 มีนักศึกษากว่า 240,000 คน ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในจำนวนนี้ มีผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ อาทิเช่น นายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานรัฐสภา นักการเมือง เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา จึงนับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรเพื่อการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการตามพันธกิจในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง ให้บริการวิชาการแก่สังคมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเป็นผู้นำในการผลักดันและส่งเสริมการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความถูกต้องของสังคมตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังคำกล่าวที่ว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชาชน”

แนะนำห้องสมุด
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดี มีผู้บริหารสูงสุด คือ ผู้อำนวยการหอสมุดฯ มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการให้บริการวิชาการ แก่นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในทุกสาขาวิชาและทุกระดับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นพัฒนาเสรีภาพแห่งการเรียนรู้ เสริมสร้างสังคมอุดมปัญญา รวมทั้งทำหน้าที่จัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือ/นวัตกรรมที่นำสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าใช้บริการโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ และอุปกรณ์การเข้าถึง ตลอดจนพัฒนาบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
หอสมุดฯ มีการบริหารงานแบบศูนย์รวม แบ่งหน่วยงานออกเป็น 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ศูนย์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บริการท่าพระจันทร์ ศูนย์บริการรังสิต และศูนย์บริการภูมิภาคและเครือข่าย โดยมีห้องสมุดในสังกัดจำนวน 10 แห่ง และ 1 ศูนย์การเรียนรู้ ภายใต้สังกัดศูนย์บริการท่าพระจันทร์จำนวน 6 แห่ง  คือ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์ (คณะนิติศาสตร์) ห้องสมุดศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี) ห้องสมุดคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  ห้องสมุดศาสตราจารย์ดิเรก ชัยนาม (คณะรัฐศาสตร์) และห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ (คณะเศรษฐศาสตร์)  ศูนย์บริการรังสิตจำนวน 3 แห่ง และ 1 ศูนย์การเรียนรู้ คือ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี ห้องสมุดศูนย์รังสิต (คลังหนังสือ) และศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และศูนย์บริการเครือข่ายและภูมิภาค 1 แห่ง คือ ห้องสมุดบุญชู ตรีทอง มธ.ศูนย์ลำปาง
นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดสังกัดศูนย์การเรียนรู้ภูมิภาคของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีก 1 แห่ง คือ ห้องสมุดศูนย์พัทยา (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา) ที่หอสมุดฯ มีบทบาทหน้าที่ในการร่วมพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศและบริการโดยให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการร่วมกัน และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 หอสมุดฯ ได้รับโอนหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาเป็นหน่วยงานในสังกัด นับเป็นการขยายขอบเขตการกำกับดูแลของหอสมุดฯ ให้ครอบคลุมหน่วยบริการเอกสารข้อมูล เพื่อการปฏิบัติงานร่วมกันแบบบูรณาการ โดยเน้นการให้บริการนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหลัก  พร้อมกับเปิดให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นแหล่งบริการข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเสียค่าเข้าใช้บริการ 20 บาท/วัน
วิสัยทัศน์ (Vision)
เป็นหนึ่งในผู้นำด้านส่งเสริมการเรียนรู้และวิจัยทุกที่ทุกเวลาในระดับเอเชีย
พันธกิจ (Missions)
1.บริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
2.ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและสิ่งอำนวยความสะดวก
3.พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นสากลอย่างยั่งยืน

Continue reading “หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 มีนักศึกษากว่า 240,000 คน ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในจำนวนนี้ มีผู้ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ อาทิเช่น นายกรัฐมนตรี ประธานศาล ประธานรัฐสภา นักการเมือง เจ้าหน้าที่ระดับสูง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา จึงนับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรเพื่อการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการตามพันธกิจในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง ให้บริการวิชาการแก่สังคมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเป็นผู้นำในการผลักดันและส่งเสริมการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความถูกต้องของสังคมตามระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังคำกล่าวที่ว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชาชน”

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน ที่รวบรวมสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยและต่างประเทศ เปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

วิสัยทัศน์

ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชนเป็นองค์กรสารสนเทศ ด้านสิทธิมนุษยชนชั้นนำระดับชาติ

พันธกิจ

1. แสวงหา คัดเลือก จัดหา จัดเก็บ จัดระบบและให้บริการสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน แก่บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และบุคคลทั่วไป
2. จัดหา พัฒนาและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและบริการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาการให้บริการสารสนเทศที่หลากหลาย และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
4. ส่งเสริมการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) แก่บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
5. แสวงหา และพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์การสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชน Continue reading “ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน”

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 256 และมาตรา 257 บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีส่งเสริมการศึกษาวิจัย ส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน และจัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ โดยได้บัญญัติให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น

ประกอบกับพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 17 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภาโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการ และมาตรา 18 บัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รับคำร้อง สืบสวนสอบสวน หรือตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมอบหมาย ศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงยุติธรรม เป็นองค์กรหลักของกระบวนการยุติธรรม ในการอำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน ป้องกันและควบคุมอาชญากรรม บำบัดแก้ไขฟื้นฟู และสงเคราะห์ผู้กระทำผิด สนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาระบบงานยุติธรรมและกฎหมายอย่างมีเอกภาพ ทันต่อสภาวการณ์และเป็นมาตรฐานสากล ด้วยการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยยึดหลักความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในสังคมและการมีส่วนร่วม

ภารกิจ หน้าที่ กระทรวงยุติธรรมมีภารกิจเป็นหน่วยงานหลักของกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินการเพื่อพัฒนากฎหมาย และระบบบริหารจัดการของกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นเอกภาพ โปร่งใส คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ช่วยเหลือและให้ความรู้ แก่ประชาชนทางกฎหมาย ป้องกันปราบปราม แก้ไข ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การบังคับคดีทางแพ่ง บังคับคดีทางอาญา บำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม

ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม เป็นห้องสมุดเฉพาะทางประเภทห้องสมุดกฎหมาย (Law Library) โดยเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือ เอกสารต่างๆ จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ แยกออกมาจากสำนักงานศาลยุติธรรม เริ่มเปิดดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เปิดให้บริการแก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมและบุคคลภายนอก ปัจจุบันห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม สังกัดกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรมมีห้องสมุดเครือข่ายในสังกัดกระทรวงยุติธรรม 9 แห่ง ประกอบด้วย ห้องสมุดกรมคุมประพฤติ ห้องสมุดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ห้องสมุดกรมบังคับคดี ห้องสมุดราชทัณฑ์ ห้องสมุดสำนักงานกิจการยุติธรรม ห้องสมุดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ห้องสมุดกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. และห้องสมุดกรมสอบสวนคดีพิเศษ ปัจจุบันใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ “Walai Autolib” ในการบริหารจัดการห้องสมุด Continue reading “ห้องสมุดกระทรวงยุติธรรม”